Proceeding2562
1960 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 ได้กาหนดให้สถานศึกษา เป็นนิติบุคคล มีจุดมุ่งหมายสาคัญเพื่อที่จะทาให้สถานศึกษามีอิสระ มีความเข้มแข็งในการบริหาร ทั้งนี้เพื่อให้การบริหาร เป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยรวม (สานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2556 : 1) ดังนั้นสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลต้องมีความรับผิดชอบ สูงขึ้น หากแต่การกระจายอานาจในลักษณะนี้เป็นการดาเนินการในสภาพที่โรงเรียนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน โรงเรียน ขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมสูงสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กจานวน หนึ่งซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษา จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของหลักสูตรหรือ ตอบสนองต่อหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ (อารีรัตน์ เป็งรักษา. 2554 : 1) จากข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ.2558 – 2561 พบว่าในปีการศึกษา 2557 มี โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจานวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คน จานวน 15,506 คิดเป็นร้อยละ 50.15 จากโรงเรียนทั้งหมด มี อัตราเฉลี่ยครู 1 คนต่อนักเรียน 12 คน โดยประมาณ ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่าต่อการ จัดสรรอัตรากาลังครู งบบุคลากร และการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง พบว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ต ่ากว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดอื่น และมีสัดส่วนที่ต้อง ปรับปรุงสูงกว่าในทุกช่วงชั้น(สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2558 : 3) แม้ว่าที่ผ่านมาสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จะพยายามดาเนินการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กมาโดยตลอด หากแต่การดาเนินงานของ โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาสาคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารและจัดการศึกษา ให้โรงเรียนขนาด เล็กจาเป็นต้องใช้ความพยายามในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ข้อจากัดที่หลากหลายและเงื่อนไขใน การบริหารจัดการที่ต่างกับโรงเรียนขนาดอื่นๆ(กระทรวงศึกษาธิการ. 2550 : 12) ดังนั้นจึงจาเป็นที่ผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็กต้องมีการวางแผนการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้าน บริหารงานทั่วไป เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด หากแต่ประเด็นปัญหาที่มักพบบ่อยในการวางแผนการบริหารงานของโรงเรียนประการหนึ่งคือ การดาเนินการ ตามกระบวนการของการจัดทาโครงการกิจกรรมต่างๆ มักขาดขั้นตอนหนึ่งที่มีความสาคัญอย่างมาก และเป็นขั้นตอนแรก ในการวางแผน คือ การประเมินความต้องการจาเป็น (Needs Assessment) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการประเมินที่จะช่วย ให้การวางแผนและการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลที่ได้มาจากการประเมินความต้องการจาเป็นจะสะท้อน สภาพบริบทที่เกิดขึ้นของหน่วยงาน ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นพื้นฐานสาคัญที่นาไปสู่การวางแผนการกาหนดแนวทางพัฒนา หน่วยงานให้สอดคล้องกับสภาพที่เกิดขึ้น และ ช่วยกาหนดวัตถุประสงค์ของการดาเนินงานให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับความ ต้องการของหน่วยงานนั้นอย่างแท้จริง (สุวิมลว่องวานิช. 2550 :63) สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา มีการแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบทั้ งสิ้น 3 เขต ในปี การศึกษา 2560 มีจานวนโรงเรียนทั้งหมด 467 โรง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จานวน 209 โรง จากการศึกษาข้อมูล สารสนเทศของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 พบว่าปัจจุบันแนวโน้มของจานวนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมในปี พ.ศ. 2557 มีโรงเรียนขนาดเล็ก จานวน 77โรง เพิ่มขึ้นเป็น 83โรง (สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1. 2560 : 6) และจากการศึกษาผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT Analysis) ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสงขลา เขต 2พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต2ส่วน ใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากร ส่งผลให้โรงเรียนขนาดเล็กจานวน 5 โรงของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3