Proceeding2562

1962 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา โดยใช้ดัชนีความสาคัญของลาดับความต้องการจาเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI Modified ) ที่ปรับปรุงโดยนงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช (สุวิมล ว่องวาณิช 2550 : 280) มีสูตรการ คานวณดังนี้ PNI Modified = ( I – D ) / D เมื่อ PNI หมายถึง ดัชนีลาดับความสาคัญของความต้องการจาเป็น I หมายถึง ค่าเฉลี่ยของสภาพที่ควรจะเป็น D หมายถึง ค่าเฉลี่ยของสภาพที่เป็นอยู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1)การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถามด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) และ2)การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha – Coefficient 2.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1)ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดย การหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) และ2)ข้อมูลความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 การหาค่าระดับผลการประเมินความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจังหวัดสงขลา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t - test) และ การทดสอบค่าเอฟ (F - test) และส่วนที่ 2 การหาค่าดัชนีความสาคัญของลาดับความต้องการจาเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI Modified ) 3.การศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยและการอภิปรายผล จากการวิจัยการประเมินความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจังหวัดสงขลา มีผลการวิจัยและประเด็นที่น่าสนใจในการอภิปรายผลได้ดังนี้ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 80.35 และเพศชาย คิดเป็น ร้อยละ 19.65 โดยมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76.14 และมีประสบการณ์ในการทางานตั้งแต่ 11 ปีขึ้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.37 ส่วนในด้านสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่าครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1เป็นผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.40 2.ผลการศึกษาความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจังหวัดสงขลา ผลการศึกษา พบว่า 2.1) ความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสงขลาตามสภาพที่เป็นอยู่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x =3.9841) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้าน มีความต้องการจาเป็นในระดับมาก ด้านที่ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารงบประมาณ ( x 4.1559) รองลงมาคือ การ บริหารบุคคล ( x =4.0892) การบริหารทั่วไป ( x =4.0133) และการบริหารวิชาการ มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด ( x =3.8140) ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่มักจะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางในจานวนน้อย ไม่เพียงพอต่อ การบริหารจัดการของโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนขนาดเล็กจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกาหนดกิจกรรมหรือ ขั้นตอนในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของสิทธิ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3