Proceeding2562

1965 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับนิลวรรณ วัฒนา (2556 : 103 -114 ) ศึกษาสภาพการบริหารวิชาการ โรงเรียนประถม ขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี พบว่า การเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันในการ บริหารวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานการศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี จาแนกตามที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.5) ผลการเปรียบเทียบความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลาตามสภาพที่ควรจะเป็น จาแนกตามตัวแปรเพศ พบว่า ครูที่มีเพศต่างกัน มีระดับ ความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลาตาม สภาพที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะครูทั้งเพศหญิงและเพศชายของโรงเรียนขนาดเ ล็ก ต่างตระหนักถึงความสาคัญในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ครูทุกคนก็ย่อมอยากเห็นโรงเรียนของ ตัวเอง สามารถที่จะผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพป้อนคืนสู่สังคมด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นด้วยเหตุนี้จึงอาจจะทาให้ระดับความ ต้องการจาเป็นในสภาพที่ควรจะเป็นของครูทั้งเพศหญิงและเพศชายจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับงานวิจัยของ จุรีรัตน์ ทุ่งปรือ (2560 : 80 -100) ได้ศึกษาสภาพความสาเร็จการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา อาเภอหาด สาราญ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต1 พบว่า ผู้บริหารและครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อ สภาพความสาเร็จการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา 3.6) ผลการเปรียบเทียบความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลาตามสภาพที่ควรจะเป็น จาแนกตามตัวแปรวุฒิการศึกษา พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษา ต่างกัน มีระดับความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสงขลาตามสภาพที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าปัจจุบันนโยบายการจัด การศึกษาของชาติให้ความสาคัญกับยกระดับคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กมากขึ้น โดยยุทธวิธีหนึ่งในยกระดับคุณภาพ ของโรงเรียนขนาดเล็กคือ การพัฒนาครูโรงเรียนขนาดเล็กให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าครูในโรงเรียนขนาดเล็กจะมีระดับวุฒิการศึกษาที่ต่างกัน หากได้รับการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวล าก็อาจจะช่วย เพิ่มแรงกระตุ้นและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น ยิ่งเรามีแรงจูงใจในการทางานมากเพียงใดความปรารถนาใน ผลลัพธ์ ก็ยิ่งมีมากขึ้นตามลาดับ ด้วยเหตุนี้จึงอาจจะทาให้ครูที่มีระดับวุฒิการศึกษาต่างกันจึงมีระดับความต้องการจาเป็น ในสภาพที่ควรจะเป็นไม่แตกต่างกันได้ ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของชิรินตรา เวียงวะลัย (2559 : 116 – 122) ได้ศึกษา สภาพที่คาดหวังของครูในการบริหารโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 พบว่า ครูที่ มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นในสภาพที่คาดหวังในการบริหารโรงเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของพนมวัลย์ มีสกุลทิพยานนท์ (2560 : 98 – 115) ศึกษาสภาพที่ควรจะเป็นใน การบริหารวิชาการในสถานศึกษาศูนย์ฝึกเครือข่ายหนองนาคา สังกัดสานักงานการศึกษาประถมศึกษาของแก่น เขต 5 พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในสภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารวิชาการแตกต่างกัน อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.7) ผลการเปรียบเทียบความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลาสภาพที่ควรจะเป็น จาแนกตามตัวแปรประสบการณ์ในการทางาน พบว่า ครูที่มี ประสบการณ์ในการทางานต่างกัน มีระดับความต้องการจาเป็นในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลาตามสภาพที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะครู ที่ ประสบการณ์ในการทางานน้อยเป็นครูที่เพิ่งจะเริ่มรับราชการ ซึ่งบุคคลที่เพิ่งจะเริ่มต้นชีวิตการทางานนั้น ส่วนใหญ่มักจะมี ความสนใจและแรงกระตุ้นในการทางานค่อนข้างสูง มีการวางแผนการปฏิบัติค่อนข้างดี ดังนั้นตราบใดก็ตามที่เรามีการวาง แผนการปฏิบัติงานที่ดีแล้ว ย่อมที่จะมีความคาดหวังในผลการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงอาจจะทาให้ครูที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3