Proceeding2562

741 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เหตุผลของฝ่ายที่สนับสนุน 1. โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่จาเป็นต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นการแก้แค้นทดแทนและรักษาความ ยุติธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายของอาชญากร หากมีโทษประหารชีวิต อาชญากรย่อมเกรงกลัวต่อกฎหมายเนื่องจากโดยธรรมชาติ แล้วมนุษย์ทุกคนย่อมรักและหวงแหนชีวิตตน นอกจากนั้นประเทศไทยยังคงมีปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงอยู่ การมีโทษ ประหารชีวิตจึงยังคงเป็นสิ่งที่จาเป็นในการป้องกันปราบปราม อนึ่ง โทษประหารชีวิตแสดงถึงความเป็นอารยะ กล่าวคือ รู้จัก การฆ่าเป็นการลงโทษเหมือนที่อารยชนใช้อาวุธในทางที่เป็นประโยชน์ [4] 2. โทษประหารชีวิตสามารถยับยั้งอาชญากรรมได้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าการลงโทษประหารชีวิตนั้นเป็นการตัด ผู้กระทาความผิดออกไปจากสังคมอย่างเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ทาให้อาชญากรผู้นั้นมีโอกาสกระทาความผิด ซ้าอีกโดยเฉพาะอาชญากรกรร้ายแรงที่ไม่สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อีกต่อไปอันเป็นการปกป้องคุ้มครองชีวิตของผู้บริสุทธิ์ 3. รัฐไม่ควรใช้งบประมาณเพื่อดูแลสงเคราะห์ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ซึ่งงบประมาณเหล่านั้นคือภาษีของประชาชน ควรนามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมหรือสาธารณะมากกว่าที่จะนาไปให้แก่อาชญากรผู้ซึ่งไม่เคารพและละเมิดต่อ กฎหมาย 4. วิธีการประหารชีวิตในปัจจุบันใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ เช่น การใช้วิธีการฉีดยาหรือสารพิษเพื่อ ช่วยให้ผู้ต้องโทษประหารชีวิตถึงแก่ความตายโดยสงบ ไม่ทรมาน กระทาในสถานที่ปิดและสภาพศพไม่เป็นที่ทุกขเวทนาเหมือน อย่างในอดีต เหตุผลของฝ่ายที่คัดค้าน 1. โทษประหารชีวิตขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในชีวิตและร่างกายซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่จาเป็นอย่างยิ่งต่อการดารงอยู่ของมนุษย์ การประหารชีวิตคือการฆ่าให้ตายซึ่งไม่มีทางใดเลยที่จะเป็นการได้รับความชอบ ธรรมจากการฆ่า การลงโทษประหารหรือการฆ่าไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่การลงโทษที่ยุติธรรม ซึ่งสิทธิในชีวิตและร่างกายได้รับ การรับรองและได้กล่าวไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 “ทุกคนมีสิทธิในการดารงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคง แห่งตัวตน” ถือเป็นสิทธิแรกเริ่มอันจะนาไปสู่สิทธิด้านอื่นๆ ที่ได้รับรองเอาไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้นการที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งศีลข้อที่ 5 เรื่องการห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ ประพฤติผิดไปจากคาสอนทางศาสนา [5] 2. โทษประหารชีวิตไม่สามารถข่มขู่ยับยั้งอาชญากรรมได้ กล่าวคือ ในประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่นั้นกลับ ว่ายังคงมีผู้กระทาความผิดในคดีร้ายแรงหรืออุกฉกรรจ์อยู่เสมอ การลงโทษที่รุนแรงจึงไม่สามารถที่จะลดจานวนของ อาชญากรรมได้ 3. รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังอันเป็นสิทธิที่ปัจเจกบุคคลควรได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงโทษในยุค ปัจจุบันที่มุ่งแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation) ผู้กระทาความผิดให้สามารถกลับคืนสู่และอยู่ร่วมกับสังคมได้โดยปกติสุขอีกครั้ง การ ยกเลิกโทษประหารชีวิตจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา [6] 4. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาอาจมีความผิดพลาด หากการประหารชีวิตใช้บังคับกับนักโทษประหารที่ไม่ได้ กระทาความผิดหรือเรียกว่า “แพะ” อันเป็นผลมาจากความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมก็เท่ากับว่าเราลงโทษผู้บริสุทธิ์ ซึ่งไม่มีทางใดที่จะแก้ไขทดแทนได้เลยโดยเฉพาะความตายของผู้บริสุทธิ์ สรุปผลการวิจัย เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลของทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้านแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าแม้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่ก็ ตาม แต่ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลที่มีน้าหนักในเชิงวิชาการ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังคงไม่เห็นด้วยกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3