Proceeding2562
915 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 17.77 26.67 37.78 33.33 35.56 53.33 36.67 35.56 53.33 44.44 64.44 55.56 36.67 0 10 20 30 40 50 60 70 80 0 kV/m 20 kV/m 40 kV/m 60 kV/m เปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ย (%) ความเข้มสนามไฟฟ้า (kV/m) 0 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 9 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย 1. การศึกษาเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมะเขือเทศที่ถูกกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้าและระยะเวลาต่างกัน ก่อนปลูก ผลจากการทดลองชุดที่ 1 พบว่าเมล็ดมะเขือเทศที่ได้รับการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 20 kV/m เป็น ระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกเท่ากับ 26.67, 35.56, 35.56 และ 64.44 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ เมล็ด ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 40 kV/m เป็นระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกเท่ากับ 37.78, 53.33, 53.33 และ 55.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ และเมล็ดที่ได้รับการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 60 kV/m เป็นระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกเท่ากับ 33.33, 36.67, 44.44 และ 36.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ส่วนเมล็ดมะเขือเทศที่ไม่ถูกกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้ามีเปอร์เซ็นต์การงอกเท่ากับ 17.78 เปอร์เซ็นต์ โดยการกระตุ้นด้วยความเข้ม สนามไฟฟ้า 20 kV/m เวลา 12 ชั่วโมงก่อนปลูก ส่งผลให้เมล็ดมะเขือเทศมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) กับชุดควบคุมที่ไม่ผ่านการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้า (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 เปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยของเมล็ดมะเขือเทศที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้าและระยะเวลาที่ต่างกัน การกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าก่อนปลูก มีผลในการเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมะเขือเทศได้ เนื่องจาก สนามไฟฟ้าจะทาให้เกิดแรงกระทากับอนุภาคที่มีประจุภายในเมล็ดพืช ซึ่งภายในเมล็ดพืชนั้นมีประจุอยู่มากมายทั้งประจุบวก และประจุลบ เมื่ออยู่ภายใต้สนามไฟฟ้า ไอออนภายในเมล็ดพืชที่มีประจุบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาทิศทางสนามไฟฟ้าที่ทาให้เกิด ประจุลบ และไอออนภายในเมล็ดพืชที่มีประจุลบจะเคลื่อนที่เข้าหาทิศทางสนามไฟฟ้าที่ทาให้เกิดประจุบวก เมื่อประจุภายใน เมล็ดจากเดิมที่อยู่กระจัดกระจายถูกแรงกระทาจากสนามไฟฟ้าทาให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออนและโมเลกุลต่างๆ ที่มีประจุ จึงเพิ่มโอกาสการชนกันของโมเลกุลและสารต่างๆ ทาให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเมล็ดพืช เช่น เร่งการทางานของ เอนไซม์อะไมเลสให้ย่อยสลายอาหารสะสมในพืชจากแป้งให้เป็นน้าตาลที่พืชสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อมีอาหารพืชก็ สามารถสร้างพลังงานและนาไปใช้ในการงอกของเมล็ด [2] ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดสูงขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยที่ ได้ศึกษาการงอกของเมล็ดสนที่ถูกกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าและเวลาที่ต่างกัน โดยวัดเปอร์เซ็นต์การงอกและเปรียบเทียบกับกลุ่ม ที่ไม่กระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้า พบว่าเมล็ดสนที่กระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้ามีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงกว่าเมล็ดสนที่ไม่ผ่านการกระตุ้น [3]
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3