Proceeding2562

916 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 64.44 42.22 0 20 40 60 80 ทิศลง ทิศขึ้น เปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ย (%) ทิศทางของสนามไฟฟ้า นอกจากนี้ยังพบว่าความเข้มสนามไฟฟ้า ระยะเวลา และตาแหน่งการวางเมล็ดยังมีผลต่อการกระตุ้นการงอกและการ เจริญเติบโตของมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์อีกด้วย [4] 2. การศึกษาเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การงอกและการเจริญเติบโตของเมล็ดมะเขือเทศที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้ม สนามไฟฟ้าและระยะเวลาเดียวกันแต่ทิศทางของสนามไฟฟ้าต่างกันก่อนปลูก 2.1 การศึกษาเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมะเขือเทศที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้าและ ระยะเวลาเดียวกันแต่ทิศทางของสนามไฟฟ้าแตกต่างกันก่อนปลูก ผลจากการทดลองชุดที่ 2 พบว่าเมล็ดมะเขือเทศที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 20 kV/m เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทิศทางของสนามไฟฟ้าพุ่งลงจากขั้วบวกเข้าสู่ขั้วลบ ให้เปอร์เซ็นต์การงอกเท่ากับ 64.44 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดที่ผ่าน การกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 20 kV/m เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทิศทางสนามไฟฟ้าพุ่งขึ้นจากขั้วบวกเข้าสู่ขั้วลบมี เปอร์เซ็นต์การงอกเท่ากับ 42.22 เปอร์เซ็นต์ โดยเมล็ดที่ผ่านการกระตุ้นด้วยทิศทางสนามไฟฟ้าพุ่งลงให้เปอร์เซ็นต์การงอก แตกต่างกับทิศทางสนามไฟฟ้าพุ่งขึ้น โดยที่ทิศพุ่งลงให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงกว่าอย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 เปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยของเมล็ดมะเขือเทศที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 20 kV/m เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง แต่ทิศทางของสนามไฟฟ้าแตกต่างกัน 2.2 การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้าและ ระยะเวลาเดียวกันแต่ทิศทางของสนามไฟฟ้าแตกต่างกันก่อนปลูก ผลจากการทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยความสูงลาต้น ความยาวราก น้าหนักสด และน้าหนักแห้งของต้นกล้ามะเขือเทศ ที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความเข้มสนามไฟฟ้า 20 kV/m เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทิศทางสนามไฟฟ้าพุ่งลงจากขั้วบวกเข้าสู่ขั้วลบมีค่า เท่ากับ 4.88 ± 0.22 cm, 2.49 ± 0.35 cm, 1.86 ± 0.70 g และ 0.16 ± 0.05 g ตามลาดับ และค่าเฉลี่ยความสูงลาต้น และ ความยาวราก น้าหนักสด และน้าหนักแห้งของต้นกล้าที่ผ่านการกระตุ้นด้วยทิศทางสนามไฟฟ้าพุ่งขึ้นจากขั้วบวกเข้าสู่ขั้วลบมีค่า เท่ากับ 4.83 ± 0.35 cm, 2.30 ± 0.25 cm, 1.62 ± 0.29 g และ 0.16 ± 0.02 g ตามลาดับ โดยการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้า ทิศพุ่งลงมีแนวโน้มการเจริญเติบโตเพิ่มสูงกว่าที่ผ่านการกระตุ้นด้วยสนามไฟฟ้าทิศพุ่งขึ้น แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) (ภาพที่ 4)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3