งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 12 การใช้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาเพิ่มปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร Arbuscular Mycorrhizal Fungi Enhance the Yield Andrographolide from Andrographis paniculata ธนาสาร ขาวสอาด 1* , บรรลือ สังข์ทอง 2 Thanasan Khaosaad 1* , Bunleu Sungthong 2 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง กรุงเทพฯ 10240 2 กลุ่มวิทยาศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 1 Department of Biotechnology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University, Bangkok, 10240 2 Pharmaceutical Sciences, Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University Kham Riang Sub-District, Kantharawichai District, Maha Sarakham, 44150 * Corresponding author: Email: thanasank@rumail.ru.ac.th , Tel: 023192743 บทคัดย่อ สารแอนโดรกราโฟไลด์เป็นสารออฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยการทดลอง ครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการปลูกถ่ายเชื้อราไมคอร์ไรซาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้กับรากฟ้าทะลายโจร เพื่อ พิจารณาผลการเจริญเติบโต และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 7 ชุดการทดลอง ประกอบด้วย ชุดการทดลองเชื้อราไมคอร์ไรซาจานวน 4 สายพันธุ์ คือ G. intraradices G. mosseae G. clarus และ Gi magarita ชุดการทดลองปุ๋ยน้า 2 สูตร ที่มีและไม่มีส่วนประกอบฟอสฟอรัส และชุดการทดลองควบคุม แต่ละการทดลองมีจานวน 15 ซ้า ผลการทดลองที่ได้พบว่า ฟ้าทะลายโจรที่มีการ ปลูกถ่ายเชื้อราไมคอร์ไรซาทุกสายพันธุ์ และฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยน้าทั้ง 2 สูตร มีการเจริญเติบโตอย่างดี ได้แก่ น้าหนักแห้งของรากและลาต้น ความสูง และปริมาณฟอสฟอรัส และมีระดับปริมาณสารแอนโดรกราโฟ ไลด์เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับฟ้าทะลายโจรจากชุดการทดลองควบคุม นอกจากนี้พบว่า ฟ้าทะลายโจรที่ได้รับ การปลูกถ่ายด้วยเชื้อราไมคอร์ไรซาสายพันธุ์ Gi magarita และ G. clarus มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ หรือฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยน้าสูตรต่าง ๆ อย่างมีนัยสาคัญ คือ 13.81 และ 13.22 มิลลิกรัมต่อน้าหนักตัวอย่างแห้ง 1 กรัม ตามลาดับ โดยผลการทดลองที่ได้สรุปว่า ฟ้าทะลายโจรที่มี การเจริญเติบโตร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซาทุกสายพันธุ์ หรือฟ้าทะลายโจรที่ได้รับธาตุอาหารอย่างเหมาะสม มีผลต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ และหากมีการเลือกใช้เชื้อราไมคอร์ ไรซาที่มีความเหมาะสมกับฟ้าทะลายโจร จะยิ่งส่งผลดีต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ คาสาคัญ : ไมคอร์ไรซา สารแอนโดรกราโฟไลด์ ฟ้าทะลายโจร สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3