งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 15 2.1 ขั้นตอนการเตรียมการทดลอง เชื้อราไมคอร์ไรซาที่ใช้ในการทดลองเพื่อปลูกถ่ายกับรากของฟ้าทะลายโจร เป็นเชื้อบริสุทธิ์ของ บริษัท INOCULUMplus ประกอบด้วย G. intaradices G. mosseae G. clarus และ Gi. magarita ซึ่งถูก เตรียมอยู่ในดิน (soil inoculum) ที่ประกอบด้วย สปอร์ของเชื้อราและชิ้นส่วนรากที่มีเชื้อราอาศัยอยู่ ต้นกล้า ฟ้าทะลายโจรอายุ 4 สัปดาห์ที่ปลูกในแต่ละกระถาง จะได้รับการปลูกถ่ายเชื้อราไมคอร์ไรซาบริสุทธิ์พร้อมกัน กับการย้ายปลูก ด้วยวิธีการใส่หัวเชื้อรองก้นหลุมปลูก กระถางละ 1 สายพันธุ์ น้าหนัก 5 กรัม/กระถาง ปุ๋ยสูตรน้าที่ใช้ในการทดลอง มีทั้งหมด 2 สูตร คือ ปุ๋ยน้าสูตรที่ 1 มีส่วนประกอบ Ca(NO 3 ) 2 0.472 g/ l, K 2 SO 4 0. 256 g/ l, MgSO 4 0. 136 g/ l, MoO 3 0. 07 g/ l, NH 4 NO 3 8 mg/ l, Fe 6 H 5 O 7 . 3H 2 O 50 mg/ l, Na 2 Bo 4 O 7 .4H 2 O 1.3 mg/l, MnSO 4 .4H 2 O 1.5 mg/l, ZnSO 4 .7H 2 O 0.6 mg/l, CoSO 4 .5H 2 O 0.54 mg/l, Al 2 (SO 4 ) 3 0.028 mg/l, NiSO 4 .7H 2 O 0.028 mg/l, Co(NO 3 ) 2 .6H 2 O 0.028mg/l, TiO 2 0.028 mg/l, LiCl 2 0.014 mg/l, SnCl 2 0.014 mg/l, SnCl 2 0.014 mg/l, KI 0.014 mg/l, and KBr 0.014 mg/l และปุ๋ยน้าสูตร ที่ 2 คือ ปุ๋ยน้าสูตรที่ 1 และเพิ่ม KH 2 PO 4 0.136 g/l ตามลาดับ โดยต้นฟ้าทะลายโจรแต่ละกระถางจะได้รับ ปุ๋ยน้าสูตรที่ 1 หรือ สูตรที่ 2 เพียงสูตรเดียว ปริมาตร 5 มิลลิลิตร/กระถาง/สัปดาห์ 2.2 การบันทึกข้อมูลผลการทดลอง การตรวจผลการเจริญเติบโตของฟ้าทะลายโจร ประกอบด้วยการวัดความสูง การชั่งน้าหนักแห้งของ ราก ลาต้น (ลาต้นและใบ) ที่ผ่านการอบแห้งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 - 72 ชั่วโมง และ การตรวจหาเปอร์เซ็นต์การอยู่อาศัยของเชื้อราไมคอร์ไรซาภายในรากพืช โดยนาตัวอย่าง รากฟ้าทะลายโจรที่ ได้รับการปลูกถ่ายเชื้อราไมคอร์ไรซาใส่หลอดทดลองที่มีสารละลาย 1N KOH แช่ในอ่างน้าร้อนอุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 นาที เมื่อครบกาหนดจึงล้างทาความสะอาดรากในสารละลายด้วยน้าสะอาด และ นาไปย้อมสีตามวิธีของ Vierheilig et al. (1998) การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณฟอสฟอรัสจากตัวอย่างฟ้าทะลายโจร โดยการบดตัวอย่างส่วนของลา ต้นและใบอบแห้งให้เป็นผงละเอียดและร่อนผ่านตะแกรงขนาด 45 ไมครอน ตัวอย่างพืชที่สามารถผ่านตะแกรง ร่อนดังกล่าวจะนาไปวิเคระห์หาปริมาณฟอสฟอรัสในตัวอย่างพืชตามวิธีของ Gericke and Kurmies (1952) ซึ่งวัดปริมาณฟอสฟอรัสในตัวอย่างพืชเป็นเปอร์เซ็นต์ (percentage of P of dried weight) โดยการวัดค่า การดูดกลืนแสงจากปฏิกิริยาของสารแอมโมเนียมวานาเดทโมลิบเดท ซึ่งทาการวิเคราะห์โดยกลุ่มวิจัยเกษตร เคมี กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร การตรวจวิเคราะห์หาสารแอนโดรกราโฟไลด์ของฟ้าทะลายโจร โดยใช้วิธีการสกัดจากตารามาตรฐาน ยาสมุนไพรไทย เล่ม1 (2549) ตัวอย่างสารที่สกัดจะถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะ สูง (HPLC) Shimadzu รุ่น SCL-10A VP ใช้คอลัมน์ C 18 Luna 150 x 3.9 มิลลิเมตร, 5 µm และการ์ด คอลัมน์ (guard column) ปริมาตรของสารละลายตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์คือ 20 ไมโครลิตร( µl) ฉีดวิเคราะห์ ตัวอย่างละ 3 ซ้า มีตัวทาละลายเคลื่อนที่ประกอบด้วย 0.05% acetonitrile และTrifluoro-acetic acid (อัตราส่วน 40 : 60 ปริมาตรต่อปริมาตร) อัตราเร็วการเคลื่อนที่เท่ากับ 1.0 มิลลิลิตรต่อนาที สารแอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3