งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 16 โดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจจับสาร(detector) Shimadzu รุ่น SPD-M20A แบบ ยูวี ความยาวคลื่นแสง 223 นาโนเมตร 2.3 การวิเคราะห์สถิติ วิเคราะห์ความแปรปรวนการเจริญเติบโตของฟ้าทะลายโจรจากความสูงของลาต้น น้าหนักแห้งของ รากและลาต้น การอยู่อาศัยของเชื้อราไมคอร์ไรซาภายในรากพืช ปริมาณฟอสฟอรัส และปริมาณสารแอน โดรกราโฟไลด์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น P< 0.05 ผลและอภิปราย (Result and Discussion) เมื่อปลูกถ่ายเชื้อราไมคอร์ไรซา ให้กับรากฟ้าทะลายโจร เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ พบว่ารากของ ฟ้าทะลายโจรที่ปลูกถ่ายเชื้อรา G. intraradices มีการอยู่อาศัยของเชื้อราไมคอร์ไรซาในรากสูงที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 38.69 ± 16.5 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับเชื้อราไมคอร์ไรซาชนิดอื่น ๆ รองลงมา คือ Gi. magarita G. clarus และ G. mosseae ตามลาดับ นอกจากนี้พบว่าฟ้าทะลายโจรที่ปลูกถ่ายเชื้อรา G. intraradices G. clarus และ G. Mosseae มีร้อยละของธาตุฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับฟ้าทะลายโจรชุดการทดลองควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับฟ้าทะลายโจรที่ได้รับ ปุ๋ยน้าสูตรที่ 1 ซึ่งมีร้อยละของธาตุฟอสฟอรัสเท่ากับ 0.16 ± 0.04 โดยตัวอย่างฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยน้าสูตร ที่ 2 มีร้อยละของธาตุฟอสฟอรัสสูงสุดเท่ากับ 0.22 ± 0.03 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับ ตัวอย่างการทดลองอื่น ๆ (ตารางที่ 1)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3