งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 18 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดการทดลองควบคุม โดยฟ้าทะลายโจรที่ปลูกถ่ายเชื้อรา Gi. magarita มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สุงสุด 13.81 ± 1.06 มิลลิกรัม รองลงมาคือ ฟ้าทะลายโจรที่มีเชื้อรา G. clarus และ G. intraradices มีปริมาณสาร 13.22 ± 1.16 มิลลิกรัม และ 12.81 ± 1.17 มิลลิกรัม ตามลาดับ ส่วนต้นฟ้าทะลายโจรที่ปลูกถ่ายเชื้อรา G. mosseae มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 10.35 ± 1.37 มิลลิกรัม ซึ่งมี ความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญกับฟ้าทะลายโจรที่ปลูกถ่ายเชื้อราชนิดอื่น ๆ และฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยน้าทั้ง สองสูตร โดยฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยน้าสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 พบว่ามีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 12.39 ± 2.70 มิลลิกรัม และ11.77 ± 1.98 มิลลิกรัม ตามลาดับ (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ของต้นฟ้าทะลายโจร ชุดการทดลอง ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ (มิลลิกรัม / น้าหนักตัวอย่างแห้ง 1 กรัม ) control 7.83 ± 0.83 c G. intraradices 12.81 ± 1.17 a G. mosseae 10.35 ± 1.37 b G. clarus 13.22 ± 1.16 a Gi. magarita 13.81 ± 1.06 a ปุ๋ยน้าสูตรที่ 1 12.39 ± 2.70 ab ปุ๋ยน้าสูตรที่ 2 (KH 2 PO 4 ) 11.77 ± 1.98 ab มีรายงานการศึกษาการใช้ประโยชน์จากเชื้อราไมคอร์ไรซา สาหรับปลูกถ่ายให้กับพืชสมุนไพรหลาย ชนิด เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และการเพิ่มปริมาณสารสาคัญ โดยผลการศึกษาของ Gogoi & Singh (2011) และ Chiramel et al. (2006) พบว่ามีเชื้อราไมคอร์ไรซาจานวน 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย G. clarum G. fasiculatus G. etunicatum G. mosseae และ G. versiforme สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ของพืชในวงศ์ Acanthaceae ได้แก่ ดีปลี ( Piper longum ) ซึ่งจัดเป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกันกับฟ้าทะลายโจร และเชื้อราไมคอร์ไรซาในสกุล Glomus จานวน 2 สายพันธุ์ คือ G. intraradices และ G. leptotichum ที่มี ผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ของฟ้าทะลายโจร ตามลาดับ จากข้อมูลดังกล่าวพบว่ามี ความสอดคล้องกับผลจากการศึกษาที่ได้ครั้งนี้ โดยปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่ได้จากฟ้าทะลายโจรที่มี การเจริญอยู่ร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซา หรือฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยสูตรน้าทั้งสองสูตร พบว่ามีปริมาณสารแอน โดรกราโฟไลด์เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับฟ้าทะลายโจรจากชุดการทดลองควบคุม สาเหตุที่สารแอน โดรกราโฟไลด์จากฟ้าทะลายโจรที่มีการปลูกถ่ายเชื้อราไมคอร์ไรซามีปริมาณเพิ่มขึ้น อาจมีสาเหตุจากต้น ฟ้าทะลายโจรมีโอกาสได้รับธาตุอาหารหลัก (Macro nutrients) และ ธาตุอาหารรอง (Micro nutrients) เพิ่มขึ้น เนื่องจากเส้นใยของเชื้อราบางส่วนมีการเจริญอยู่บริเวณรอบ ๆ รากพืช คอยทาหน้าที่ช่วยดูดซึมธาตุ อาหารต่าง ๆ ที่รากพืชไม่สามารถนาเข้าสู่พืชได้ เนื่องจากธาตุอาหารบางกลุ่มอาจมีรูปสารที่ไม่เหมาะสม หรือ มีสภาวะความเป็นกรดหรือด่างที่ไม่เหมาะสมต่อการดูดซึม (Brundrett, 2009 และ Schweiger et al., 1995)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3