งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 19 และเมื่อพิจารณาดูจากผลการเพิ่มขึ้นของสารแอนโดรกราโฟไลด์ พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการเพิ่มขึ้น ของน้าหนักแห้งของรากและลาต้นของฟ้าทะลายโจร นอกจากนี้ผลจากการทดลองพบว่า การเพิ่มขึ้นของสาร แอนโดรกราโฟไลด์ อาจมีผลเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณฟอสฟอรัสของฟ้าทะลายโจรที่เจริญอยู่ร่วมกับ เชื้อราไมคอร์ไรซา เนื่องจากรากพืชที่มีการเจริญเติบโตร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซาชนิดต่าง ๆ พบว่าปริมาณ ฟอสฟอรัสของต้นพืชที่มีเชื้อราดังกล่าวอาศัยอยู่มีแนวโน้มสะสมเพิ่มมากขึ้น ( Smith & Read, 1997) จากรายงานการศึกษาของ Nell et al. (2009) พบว่า สารแอนติออกซิแดนท์ของพืช Salvia officinalis L. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อพืชได้รับธาตุฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ และรายงานของ Khaosaad et al.(2006) พบว่า พืชออริกาโน ( Origanum vulgare ) ที่มีการเจริญเติบโตร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซา นอกจากมีปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ปริมาณความเข้มข้นของน้ามันหอมระเหยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับพืชที่ไม่ได้เจริญร่วมกับเชื้อราไมคอร์ซา ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการเจริญเติบโตของ ฟ้าทะลายโจรร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซาในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า จากผลการทดลองถึงแม้ ปริมาณฟอสฟอรัสของฟ้าทะลายที่มีการเจริญร่วมกับเชื้อราไมคอร์ไรซา Gi. margarita และ G. clarum มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสมน้อยกว่าฟ้าทะลายโจรที่มีเชื้อรา G. intraradices หรือ ฟ้าทะลายโจรที่ได้รับปุ๋ยน้า ทั้งสองสูตร แต่กลับมีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์เพิ่มขึ้นมากที่สุด แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากปัจจัยธาตุ อาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและการเพิ่มขึ้นของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสาหรับพืชบางชนิด แล้วนั้น อาจมีปัจจัยด้านความจาเพาะของการตอบสนองระหว่างพืชและเชื้อราไมคอร์ไรซาสายพันธุ์ต่าง ๆ แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Dos Santos et.al . (2017) ซึ่งได้ทาการศึกษาด้วยการปลูกถ่าย เชื้อไมคอร์ไรซาแตกต่างกัน 3 ชนิด Gi. margarita Claroideoglomus etunicatum และ Acaulospora longula ให้กับพืชสมุนไพร Libidibia ferrea ซึ่งมีสารประกอบกลุ่มฟีโนลิกเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอยู่ที่ เปลือกไม้ โดยผลการศึกษา พบว่าสารสาคัญที่สกัดได้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นแตกต่างกันตามชนิของเชื้อราไมคอร์ ไรซาที่ปลูกถ่ายให้กับพืช สรุปผล (Conclusion) การศึกษานี้สรุปได้ว่า มีความเป็นได้สาหรับการใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาร่วมกับการปลูกฟ้าทะลายโจร เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและช่วยเพิ่มปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจร และสามารถใช้ เป็นแนวทางสาหรับการเพาะปลูกพืชสมุนไพรให้มีคุณภาพ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อ การเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการผลิตตามวิถีเกษตรอินทรีย์ ซึ่งการใช้เชื้อ ราไมคอร์ซามีความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่การช่วยลดปริมาณปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีทางการเกษตรอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากความได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย การศึกษาและคัดเลือกเชื้อราไมคอร์ไรซาให้มีความเหมาะสมกับพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ เป็นฐานความรู้ใน อนาคตสาหรับการผลิตพืชที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและสุขภาพของ ประชาชนต่อไป กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3