งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 23 Abstract The selection criteria have many characteristics that are used for the promising clone’s selection in plant breeding. Hence, the aim of this study was to select juice cane promising clones with some qualities of juice cane juice as the color ( Hunter Lab) , total soluble solids ( TSS) , pH, and electrical conductivity ( EC) in 24 genotypes of juice cane, this experiment was conducted at Khon Kaen Field Crops Research Center ( KKFCRC) in 2023. The results showed that 4 promising clones as KKj19-1, KKj19-2, KKj19-10, and KKj19-21 were selected which have the high quality as well as standard varieties especially in DOA SP50, the selected promising clones have the greenness (-a* value) was since -2.31, the blueness (-b* value) was lower than - 4. 69, and TSS was 19 to 20 º Brix, meanwhile pH or EC were not significant difference when compared with standard varieties. However, to select the comprehensive promising clones, the selection should be considered with the other criteria of juice cane juice quality evaluation. Keywords: DOA SP50, The greenness, Total soluble solids (TSS), Juice cane juice บทนา (Introduction) น้าอ้อยคั้นน้าเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย คลายร้อนที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า กัมพูชา และไทย เป็นต้น (Mo et al., 2007; Singh et al., 2015) นอกจากน้าอ้อยจะให้ความสด ชื่นแก่ผู้บริโภคแล้ว อ้อยคั้นน้ายังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายจากน้าตาลซูโครส วิตามิน (วิตามินบี วิตามินซี) แร่ธาตุ (ธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม) สารต้านอนุมูลอิสระ (สารประกอบฟีลนอลิก เช่น Caffeic acid, Sinapic acid และ Hydroxycinnamic acid) (Singh et al., 2015) นอกจากนี้ น้าอ้อยคั้นน้ายังมีสรรพคุณ ทางยา เช่น ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย เพิ่มความกาหนัด ช่วยให้ตับและไตทางานปกติ และป้องกันการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด (Khare, 2007; Karthikeyan & Samipillai, 2010; Singh et al., 2015) สาหรับ ประเทศไทย พันธุ์อ้อยคั้นน้าที่นิยมปลูกและบริโภค เช่น กวก. พันธุ์สุพรรณบุรี 50 กวก. ศรีสาโรง 1 และ กวก. สุพรรณบุรี 1 (Chinnasaen et al., 2022) หรือพันธุ์ดั้งเดิม เช่น พันธุ์สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่เพาะปลูกใน ภาคใต้ของไทย (Boonphirom, 2009) แม้จะสามารถพบเห็นอ้อยคั้นน้าได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่พบว่าพันธุ์อ้อยคั้นน้าที่มีในประเทศยังขาดความหลากหลายที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้บริโภคได้ จากการศึกษาของ Chinnasaen et al. (2023) รายงานว่า ผู้บริโภคน้าอ้อยคั้นน้าในจังหวัด ขอนแก่นเลือกบริโภคน้าอ้อยคั้นน้าโดยพิจารณาจาก สี รสชาติ และกลิ่นของน้าอ้อยคั้นน้า ตามลาดับ ขณะที่ ผู้บริโภคน้าอ้อยคั้นน้าในจังหวัดเชียงใหม่เลือกบริโภคน้าอ้อยคั้นน้าโดยพิจารณาจาก คุณค่าทางโภชนาการ/ ความเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รสชาติ สี และกลิ่นของน้าอ้อยคั้นน้า ตามลาดับ (Chinnasaen et al., 2021) ขณะที่ ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยคั้นน้าจะใช้คุณลักษณะต่าง ๆ ประกอบการคัดเลือก เช่น ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และปริมาณและคุณภาพของน้าอ้อยคั้นน้า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3