งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 26 มีค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 37.60 ถึง 37.76 ค่าความเป็นสีเขียว (-a*) เท่ากับ -0.64 ถึง -5.56 และมีค่าความ เป็นสีเหลือง (b*) เท่ากับ 2.46 ถึง 3.03 ขณะที่ Chinnasaen et al. (2022) รายงานว่า น้าอ้อยคั้นน้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 กวก. ศรีสาโรง 1 และ กวก. สุพรรณบุรี 50 มีค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 65.49 65.52 และ 65.53 ตามลาดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่ ค่าความเป็นสีเขียว (-a*) และความเป็นสีน้าเงิน (-b*) มี ค่าแตกต่างกันทางสถิติ เท่ากับ -2.795 -2.750 และ -2.795 ตามลาดับ และ -1.428 -1.415 และ -1.371 ตามลาดับ ด้านค่า TSS ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ความหวานของน้าอ้อยนั้นส่วนใหญ่เป็นน้าตาลซูโครส (Watanabe et al., 2016) สาหรับพันธุ์เปรียบเทียบ 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 กวก. ศรีสาโรง 1 และ กวก. สุพรรณบุรี 50 ที่กรมวิชาการเกษตรให้การรับรองพันธุ์มาแล้วนั้นได้ระบุความหวาน เท่ากับ 21.5 º Brix (Department of Agriculture [DOA], 2022a) 19.1 º Brix (DOA, 2022b) และ 16.1 º Brix (DOA, 2022c) ตามลาดับ ขณะที่ Boonphirom (2009) รายงานว่า อ้อยคั้นน้าพันธุ์สิงคโปร์มีความหวาน 14.2 º Brix โดยอ้อย คั้นน้าทั้งพันธุ์เปรียบเทียบและโคลนดีเด่นมีค่าความหวานที่แตกต่างกันนั้นอาจ เนื่องมาจากอิทธิพลของทั้ง พันธุกรรมและ/หรือแหล่งเพาะปลูก (Arif et al., 2019) ขณะที่ Chinnasaen (2022) รายงานว่า จากการศึกษา การยอมรับทางประสาทสัมผัสน้าอ้อยคั้นสดพบว่า อ้อยคั้นน้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 และ กวก. สุพรรณบุรี 50 มีคะแนนความชอบด้านรสชาติสูงสุดแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยอ้อยคั้นน้าทั้งสองพันธุ์มีความหวาน ประมาณ 22.0 และ 21.0 º Brix ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ของข้อกาหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 122/2555 เรื่อง น้าอ้อย ได้กาหนดให้ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้มีค่าตั้ง 11 º Brix ขึ้นไป (TISI, 2011) แสดงให้เห็นว่าอ้อยทุกพันธุ์/โคลนที่ดาเนินการศึกษานั้นผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว ด้านค่า pH และ ค่า EC ของพันธุ์/โคลนอ้อยคั้นน้าที่ดาเนินการศึกษาในครั้งนี้แม้ค่าดังกล่าวจะมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติซึ่งอาจ เกี่ยวข้องกับการได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมระหว่างการเจริญเติบโต แต่ค่าทั้งสองต่างมี ความสาคัญต่อคุณภาพของน้าอ้อยคั้นน้า โดยค่า pH มีความสาคัญต่อการปรับปรุงคุณภาพของน้าอ้อยคั้นน้าใน ระดับอุตสาหกรรม (Kimatua et al., 2015) และหากอายุการเก็บรักษาน้าอ้อยคั้นน้ายาวนานขึ้นค่า pH จะลดลงเนื่องจากเกิดการกระบวนการหมักด้วยการเปลี่ยนน้าตาลกลูโครสเป็นกรดอะซิตริกและกรดแลคติกจาก การทางานของเชื้อจุลินทรีย์กลุ่ม Acetobacter และ Lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในน้าอ้อย (Suphamityotin, 2013) Chunwijitra et al. (2021) รายงานว่า อ้อยคั้นน้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 50 มีค่า pH เท่ากับ 5.74 ขณะที่ Chinnasaen et al. (2022) รายงานว่า อ้อยคั้นน้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 กวก. ศรีสาโรง 1 และ กวก. สุพรรณบุรี 50 มีค่า pH เท่ากับ 5.47 5.51 และ 5.33 ตามลาดับ และสาหรับค่า EC ที่บ่งชี้ถึงอิออนอิสระที่อยู่ในน้าอ้อยคั้นน้า นั้น Watanabe et al. (2016) รายงานว่า อิออนในน้าอ้อยส่วนใหญ่คือ โพแทสเซียมอิออน (K + ) และคลอไรด์ (Cl - ) และอิออนทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับความเข้มข้นของน้าตาลซูโครสในน้าอ้อย ขณะเดียวกัน Thangavelu et al. (2003) ได้รายงานว่า พบโซเดียมอิออน (Na + ) ในน้าอ้อยจากทุกช่วงอายุอ้อยที่ดาเนินการศึกษา ระหว่าง 6 - 13 เดือน โดยน้าอ้อยที่มีโซเดียมอิออนต่าจะมีความเข้มข้นของซูโครสสูงซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้าอ้อยที่มี คุณภาพดีควรมีระดับโซเดียมอิออนต่า (มีน้าตาลสูง) ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าค่า EC สามารถบ่งชี้คุณภาพของน้าอ้อย ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในอนาคตควรศึกษาชนิดของอิออนที่มีในน้าอ้อยคั้นน้าของไทยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3