งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 4 ระดับคะแนน ลักษณะที่ปรากฏ 9 ใบเปลี่ยนสี หรือใบผิดรูป หรือใบไหม้ทั้งต้น แต่มีส่วนสีเขียวปรากฏ 10% เมื่อเทียบกับ control 10 พืชปลูกตายทั้งหมด 2) ความสูงของต้นกล้วยหอม ที่ระยะ 0, 30, 60 และ 90 วันหลังพ่นสาร โดยวัดจากส่วนลาต้นเหนือ ดินจากพื้นดินถึงโคนก้านใบของใบที่คลี่ออกแล้ว 3) จานวนใบและจานวนหน่อ ที่ระยะ 0, 30, 60 และ 90 วันหลังพ่นสาร 4) น้าหนักสด (ชั่งน้าหนักสดส่วนลาต้นเหนือดินของกล้วยหอม) และน้าหนักแห้งของต้นกล้วยหอม (อบแห้งส่วนลาต้นเหนือดินของกล้วยหอมที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส จานวน 120 ชั่วโมง) ที่ระยะ 90 วัน หลังพ่นสาร ผลและอภิปราย (Result and Discussion) จากการประเมินความเป็นพิษของสารกาจัดวัชพืชต่อกล้วยหอมด้วยสายตา โดยเปรียบเทียบกับ กรรมวิธีไม่พ่นสารกาจัดวัชพืช (ตารางที่ 1 และ รูปภาพที่ 1-4) พบว่า สาร mesotrione+atrazine มีความเป็น พิษเล็กน้อยต่อกล้วยหอม ที่ระยะ 3 วันหลังพ่นสาร โดยใบอ่อนที่ม้วนแบบซิก้า (cigar leaf) เปลี่ยนเป็นสีเขียว อ่อนอมขาว ใบอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนทั้งแผ่นใบ บริเวณขอบใบไหม้เล็กน้อย ส่วนใบอื่น ๆ มีสี เขียวปกติ แต่เส้นใบ (vein) มีลักษณะนูน เนื้อใบแข็งและกระด้าง และที่ระยะ 7 วันหลังพ่นสาร พบความเป็น พิษปานกลาง โดยใบอ่อนที่ม้วนแบบซิก้าและใบอ่อนมีอาการฟอกขาวซีด (bleaching) ใบเป็นสีขาวทั้งแผ่นใบ บริเวณขอบใบไหม้เล็กน้อย ใบอื่น ๆ มีอาการเนื้อใบแห้งและไหม้ (necrosis) บริเวณขอบใบไม่ถึงกลางใบ จากนั้นที่ระยะ 15 วันหลังพ่นสาร ความเป็นพิษเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับรุนแรง โดยใบอ่อนที่ม้วนแบบซิก้าและใบ อ่อนมีอาการฟอกขาวซีด บริเวณขอบใบแห้งและไหม้ ส่วนใบอื่น ๆ เนื้อใบแห้งและไหม้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบ อาการไหม้เกิดจาก บริเวณขอบใบเข้าหาเส้นกลางใบ (midrib) บริเวณขอบก้านใบ (petiole margins) เปลี่ยนเป็นสี น้าตาลดา แห้งและไหม้ แต่ก้านใบ (petiole) กาบใบ (leaf sheath) และลาต้นเทียม (pseudostem) ยังมีสีเขียวอยู่ เมื่อเข้าสู่ระยะ 30 วันหลังพ่นสาร ต้นกล้วยหอมเจริญเติบโตได้ตามปกติ สาหรับสาร topramezone มีความเป็นพิษเล็กน้อยต่อกล้วยหอม ที่ระยะ 3 และ 7 วันหลังพ่นสาร โดยใบอ่อนที่ม้วนแบบ ซิก้าและใบอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน อมขาว แต่เส้นใบและเส้นกลางใบมีสีเขียว บริเวณขอบใบไหม้เล็กน้อย ก้าน ใบ กาบใบ และลาต้นเทียมยังมีสีเขียวอยู่ ส่วนใบอื่น ๆ มีสีเขียวปกติ เมื่อเข้าสู่ระยะ 15 วันหลังพ่นสาร ต้นกล้วย หอมเจริญเติบโตได้ตามปกติ เนื่องจากสาร mesotrione อยู่ในกลุ่ม Triketones สามารถเข้าสู่ต้นพืชได้ทั้งทาง ใบและทางราก มีกลไกการทาลายพืชโดยยับยั้งการทางานของเอนไซม์ 4 - hydroxyphenyl-pyruvate- dioxygenase (HPPD) ซึ่งเป็นเอนไซม์สาคัญในการสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ การยับยั้ง HPPD ส่งผลให้พืชไม่ สามารถสร้างแคโรทีนอยด์เพื่อปกป้องการสลายตัวด้วยแสงของคลอโรฟิลล์ จึงก่อให้เกิดลักษณะอาการ ฟอกขาวชีด (bleaching) ซึ่งในเวลาต่อมาจะทาให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในต้นพืชถูกทาลายไป พืชจะแสดง อาการเหี่ยวแห้งและตายในที่สุด เช่นเดียวกับสาร topramezone ที่มีกลไกการทาลายพืชโดยยับยั้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3