งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

งานประชุมวิชาการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง JTAI 2024: The 1 st Conference of Technology and Agricultural Innovation between 1 – 2 August 2024 At Thaksinakhan Thaksin University 5 การทางานของเอนไซม์ HPPD เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันที่สารดังกล่าวอยู่ในกลุ่ม Pyrazoles (ทศพล พรพรหม, 2560; Carol et al., 2003; Shaner et al., 2014) จึงแสดงอาการเกิดพิษเพียงที่ระยะ 3 และ 7 วันหลังพ่น สาร จากนั้นกล้วยหอมสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ที่ระยะ 15 วันหลังพ่นสาร ในขณะที่สาร atrazine มีความเป็นพิษปานกลาง ที่ระยะ 3 วันหลังพ่นสาร โดยใบอ่อนที่ม้วนแบบ ซิก้าและใบอ่อนเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองบางส่วนแต่ไม่ทั่วทั้งแผ่นใบ บริเวณขอบใบแห้งและไหม้แต่ไม่ถึง กลางใบ ส่วนใบอื่น ๆ มีอาการซีดเหลือง (chlorosis) จากบริเวณขอบใบเข้าหาเส้นกลางใบแต่ไม่ทั่วทั้งแผ่นใบ บริเวณขอบใบไหม้เล็กน้อย จากนั้นที่ระยะ 7 วันหลังพ่นสาร ความเป็นพิษลดลงอยู่ในระดับเล็กน้อย โดยใบ อ่อนที่ม้วนแบบซิก้าและใบอ่อนเจริญเติบโตได้ปกติ ส่วนใบที่ 3 (leaf III) มีอาการแห้งและไหม้บริเวณขอบใบไม่ ถึงกลางใบ เมื่อเข้าสู่ระยะ 15 วันหลังพ่นสาร ต้นกล้วยหอมเจริญเติบโตได้ตามปกติ ทั้งนี้ สาร atrazine อยู่ใน กลุ่ม Triazines สามารถเข้าสู่ต้นพืชได้ทั้งทางใบและทางราก แต่สารจะเข้าทางใบได้เล็กน้อย เมื่อสารเข้าสู่พืช แล้วจะเคลื่อนย้ายผ่านทางเนื้อเยื่อลาเลียงน้า (xylem) ไปสะสมบริเวณเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) มีกลไกการทาลายพืชโดยยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในระบบแสง II ของพืช ทาให้พืชไม่สามารถสร้าง ATP และ NADPH (ซึ่งจาเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช) ส่งผลให้พืชแสดงอาการใบซีดเหลือง ( chlorosis) จากนั้นจะแสดงอาการใบแห้งและไหม้ (necrosis) ในเนื้อเยื่อพืชที่อายุมากจะแสดงอาการมากกว่าเนื้อเยื่อพืชที่ อายุน้อย (ทศพล พรพรหม, 2560; Shaner et al., 2014) ผลของสารกาจัดวัชพืชกลุ่มที่ยับยั้งการทางานของเอนไซม์ HPPD ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยหอม (ตารางที่ 2-3) พบว่ากรรมวิธีพ่นสาร mesotrione+atrazine, topramezone และ atrazine มีความสูงที่ ระยะ 30, 60 และ 90 วันหลังพ่นสาร ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างกับกรรมวิธีไม่พ่นสารกาจัดวัชพืช ในขณะที่น้าหนักสดและน้าหนักแห้งที่ระยะ 90 วันหลังพ่นสาร และจานวนหน่อของกล้วยหอมที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสาร ในกรรมวิธีพ่นสาร mesotrione+atrazine มีค่าน้อยที่สุด แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธี พ่นส า ร topramezone, atrazine แล ะก ร รมวิธีไ ม่พ่นสา รกา จัดวัชพืช เ นื่อ ง จ ากก รรมวิธีพ่นสาร mesotrione+atrazine พบความเป็นพิษปานกลาง ที่ระยะ 7 วันหลังพ่นสาร จากนั้นที่ระยะ 15 วัน หลังพ่นสาร ความเป็นพิษเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับรุนแรง จึงส่งผลให้กล้วยหอมชะงักการเจริญเติบโต เมื่อเทียบกับ กรรมวิธีอื่น ๆ สอดคล้องกับจานวนใบที่ระยะ 30, 60 และ 90 วันหลังพ่นสาร ซึ่งกรรมวิธีพ่นสาร mesotrione+atrazine มีค่าน้อยที่สุด แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นสาร topramezone, atrazine และ กรรมวิธีไม่พ่นสารกาจัดวัชพืช เช่นเดียวกับงานวิจัยของ เอกรัตน์ ธนูทอง และคณะ (2566) ที่ได้ศึกษา ประสิทธิภาพสารกาจัดวัชพืชต่อการควบคุมวัชพืชในแปลงกล้วยหอมทอง พบว่า สาร ametryn, diuron, glufosinate และ topramezone สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ จนถึงระยะ 30 วันหลัง พ่นสาร โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกล้วยหอม ในขณะเดียวกันที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้ สารกาจัดวัชพืช atrazine มายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เพื่อกาจัดวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ซึ่งสามารถ ควบคุมวัชพืชได้ดี ไม่เป็นพิษต่อกล้วย อีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน (Romanowski et al., 1967) โดยในประเทศอินเดียก็มีการใช้สารกาจัดวัชพืช atrazine เพื่อกาจัดวัชพืชใน กล้วยเช่นเดียวกัน (Shaikh & Lokhande, 2005)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3