วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2

49 ผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ทางด้านลำ ต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก Journal of Technology and Agricultural Innovation Vol. 2 No. 2 ( July - December 2024 ) ของพืชในระยะสืบพันธุ์ต่ำ (Zhou et al., 2011) จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบ ส่วนรากมีการเจริญ เติบโตลดลง (Dong et al., 2008) ดังนั้นเมื่อใช้ดินผสมที่ประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 ร่วมกับระยะเวลาการหมักที่เหมาะสมทำ ให้สามารถ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นกัญชานำ ไปใช้ได้อย่างเพียงพอ จึงไม่จำ เป็นต้องเติมปุ๋ยระหว่างการปลูก อายุการเก็บเกี่ยว ซึ่งสอดคล้องกับ (ยงยุทธ โอสภสภา, 2552) พบว่าการใส่มูลวัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น ทำ ให้ ดินผสมมีปริมาณอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นอกจากนี้มูลวัว ยังมีธาตุอาหารรองครบเกือบทุกธาตุ ซึ่งสามารถเพิ่มผลิตภาพของดินให้สูงขึ้น และควรมีการผสมและ หมักไว้ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนนำ ไปใช้ ในขณะที่ (กษิดิ์เดช อ่อนศรี และคณะ, 2565) ศึกษาปริมาณปุ๋ย อินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตทางลำ ต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบกัญชา เปรียบ เทียบ 5 ปัจจัย ได้แก่ ปุ๋ยเคมีปริมาณ 8 กรัมไนโตรเจนต่อต้น และปุ๋ยอินทรีย์ที่ปริมาณต่างกัน 8 16 24 และ 32 กรัมไนโตรเจนต่อต้น ให้การเจริญเติบโตของต้นกัญชามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ คัญทาง สถิติ การให้ปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณ 32 และ 24 กรัมไนโตรเจนต่อต้น และปุ๋ยเคมี 8 กรัม ไนโตรเจนต่อต้น ให้ต้นกัญชามีการเจริญเติบโตทางลำ ต้นของต้นกัญชามากที่สุดไม่แตกต่างกัน ส่วน (ขจรยศ ศิรินิล, 2562) ศึกษาการพัฒนาสูตรดินผสมเพื่อการปลูกผักสลัดกรีนโอ๊คสำ หรับคนเมืองพบว่าสูตรดินที่เหมาะ สมสำ หรับการนำ ไปปลูกผักสลัดกรีนโอ๊คมากที่สุดคือ ดินร่วน : ขุยมะพร้าว : แกลบดิบ : มูลวัว : มูลไก่ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1 : 0.5 โดยให้ผลผลิตน้ำ หนักส่วนเหนือดินมากที่สุด ตลอด จากการศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยทั้ง 4 ทรีตเมนต์ การปลูกที่ไม่ใส่ปุ๋ยส่งผลต่อการเจริญเติบโต ทั้งด้านความสูงต้น เส้นผ่าศูนย์กลางต้น จำ นวนข้อ สูงสุด และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี นัยสำ คัญกับการปลูกทรีตเมนต์อื่น ทั้งนี้เนื่องจากดินผสมที่มีมูลวัวเป็นส่วนผสมจะมีความร่วนซุย ระบาย น้ำ ได้ดีและมีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองที่กัญชาต้องการอย่างเพียงพอและเหมาะสม จึงส่งผลต่อ การเจริญเติบโตที่ดีของระบบราก และการเจริญเติบโตทางลำ ต้นเหนือดินสูง ดังนั้นการเติมปุ๋ยระหว่าง การปลูกส่งผลต่อปริมาณไนโตรเจนที่มากเกินความต้องการของกัญชา จึงส่งผลให้ยับยั้งการเจริญเติบโต ของระบบรากแก้ว ดังนั้น เมื่อระบบรากไม่แข็งแรง จึงส่งผลให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชส่วนที่อยู่ เหนือดินตามไปด้วย กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) งานทดลองนี้สำ เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณะเทคโนโลยี และการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำ เนิน งานวิจัย ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว ตำ แหน่งอาจารย์ สังกัดคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่คอย เป็นที่ปรึกษา และแนะนำ แนวทางการดำ เนินงานวิจัยให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณ คุณสุชาติ หนูคง ผู้ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์กัญชาสายพันธุ์หางกระรอก ซึ่งเป็นปัจจัยสำ คัญในการ ดำ เนินงานทดลอง ขอขอบคุณคณาจารย์และบุคลากรผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ชี้แนะและให้คำ แนะนำ ต่างๆใน การดำ เนินงาน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำ เนินงานทดลองให้สามารถผ่านพ้นสำ เร็จ ไปได้ด้วยดี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3