Proceeding2562

1559 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนํา กลุม ความผิดปกติที่ของฮีโมโกลบิน (hemoglobinopathies) เปนความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติ ของยีนที่ควบคุมการสรางสายโกลบิน ทําใหสรางสายโกลบินไดลดลงหรือไมได แบงเปน 2 ประเภทใหญ ๆ คือความผิดปกติเชิง ปริมาณและความผิดปกติเชิงคุณภาพ ความผิดปกติเชิงปริมาณหมายถึงความสามารถของยีนโกลบินในการสรางสายโกลบินชนิดใด ชนิดหนึ่งหรือมากกวาหนึ่งชนิดลดลงหรือไมสรางออกมา โดยไมมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสราง เรียกวา ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) แบงเปน 2 ชนิดที่พบบอย คือ แอลฟาธาลัสซีเมีย (  -thalassemia) และเบตาธาลัสซีเมีย (  -thalassemia) สวนความผิดปกติเชิงคุณภาพ หมายถึงยีนโกลบินในการสรางสายโกลบินที่เปลี่ยนแปลงทางโครงสรางหรือชนิดของกรดอะมิโน ทํา ใหมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป เรียกวา ฮีโมโกลบินผิดปกติ (abnormal hemoglobin หรือ hemoglobin variant) [1, 2] ฮีโมโกลบินผิดปกติสามารถจําแนกตามสายโกลบินที่ผิดปกติ ไดแก  -chain variant,  -chain variant, และ δ -globin chain variant เกิดจากความผิดปกติของยีนอัลฟาโกลบิน, เบตาโกลบิน และเดลตาโกลบินตามลําดับ หรืออาจ จําแนกชนิดตามลักษณะการกอโรค ไดแก ฮีโมโกลบินผิดปกติที่กอใหเกิดปญหาสุขภาพรุนแรง เชน Hb S เปนตน ฮีโมโกลบิน ผิดปกติที่ไมกอใหเกิดโรคแตเมื่อพบรวมกับธาลัสซีเมียหรือฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอื่น อาจกอใหเกิดโรคได เชน Hb E เปนตน ฮีโมโกลบินผิดปกติที่กอใหเกิดความผิดปกติทางโลหิตวิทยา เชน Hb Tak และ Hb M เปนตน นอกจากนี้ยังมีฮีโมโกลบินผิดปกติที่ ไมแสดงอาการ เชน Hb Hope เปนตน ฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบในคนไทยมีไมนอยกวา 30 ชนิด มีทั้งชนิดที่กอใหเกิดโรคและไม กอใหเกิดโรค ฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบบอยที่สุดในประเทศไทย ไดแก Hb Constant Spring (Hb CS) และ Hb E นอกจากนี้ยัง สามารถพบ Hb Hope และ Hb Tak ไดอีกดวย [3, 4] การตรวจวิเคราะหฮีโมโกลบินดวยเครื่องอัตโนมัติบางหลักการจะแสดงผลฮีโมโกลบินผิดปกติบางชนิดในตําแหนงเดียวกัน เชน การตรวจวิเคราะหดวยเครื่องอัตโนมัติอาศัยหลักการโครมาโตกราฟอัดแรงดัน (liquid chromatography) ซึ่งมีทั้งแบบ high pressure liquid chromatography (HPLC) และแบบ low pressure liquid chromatography (LPLC) พบวาลักษณะ chromatogram ที่ไดแสดง peak ของ Hb Hope อยูในตําแหนงเดียวกับ Hb F [5] นอกจากนี้การตรวจวิเคราะหดวยเครื่อง อัตโนมัติที่อาศัยหลักการแยกดวยกระแสไฟฟาความตางศักยสูงในหลอดแกวนําไฟฟาขนาดเล็ก (capillary electrophoresis; CE) พบวาลักษณะ electrophoregram ที่ไดแสดง peak ของ Hb Tak อยูตําแหนงเดียวกับ Hb F [6] การรายงานผลการตรวจ วิเคราะหชนิดและปริมาณจะตองรายงานทั้งชนิดและปริมาณของฮีโมโกลบินที่ตรวจพบซึ่งอาจทําใหแปลผลผิดพลาดได จึงตอง พัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะหที่สามารถแยกชนิดของฮีโมโกลบินที่ผิดปกติได การตรวจวิเคราะหฮีโมโกลบินผิดปกติในระดับโมเลกุล ทางหองปฏิบัติการในปจจุบันนี้มีหลายวิธีดวยกัน เชน allele specific PCR (ASPCR), allele specific oligonucleotide hybridization (ASO) และ Direct sequencing (Automate) เปนตน [7, 8, 9] High resolution melting curve analysis (HRM) เปนการตรวจทางวิเคราะหทางโมเลกุล โดยอาศัยความแตกตางกัน ของคุณสมบัติการแยกเปนดีเอ็นเอสายเดี่ยวของ PCR product ภายใตอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น [10] วิธีนี้คอนขางงาย มีความรวดเร็ว และถูกตองจึงนาจะเปนประโยชนในการใชจําแนกชนิดฮีโมโกลบินผิดปกติ 2 ชนิดที่พบบอยในไทยได เชน Hb Hope และ Hb Tak วัตถุประสงค เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะหฮีโมโกลบินผิดปกติ 2 ชนิดซึ่งพบบอยในประเทศไทย คือ Hb Hope และ Hb Tak ดวยวิธี high resolution melting curve (HRM) ได

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3