Proceeding2562

1632 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 ประเภทผลงานสร้างสรรค์ นวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์ : นาฏศิลป์ไทย แนวความคิดหลัก ผู้สร้างสรรค์ต้องการนาเสนอลักษณะลายเส้นของพยัญชนะลายสือไทย ที่ปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 รวมไปถึงคุณค่าความสาคัญของลายสือไทย และความภาคภูมิใจของคนไทยที่มีตัวอักษรเป็นของตนเอง โดยนาเสนอผ่าน บทร้องและกระบวนท่าราในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยประเภทระบา ความสาคัญของการทางานสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์เห็นถึงความสาคัญของลายสือไทย ในลักษณะของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ที่มีความแตกต่างจาก ชนชาติอื่น เป็นที่มาของอักษรไทยที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงอารยะธรรมทางด้านความคิด การใช้ภาษา เขียนที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง จนได้รับการยอมรับจากยูเนสโก ให้ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก ผู้สร้างสรรค์จึงนามาเป็นกรอบความคิด และสร้างสรรค์การแสดง เพื่อใช้สื่อสารที่มาและความสาคัญทางด้านภาษาให้แก่ผู้ชม และเพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าด้านภาษาให้กับ เยาวชนรุ่นใหม่ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของลายสือไทยที่ปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 คุณค่าและควา มสาคัญ ของลายสือไทยที่มีต่อคนไทยมาสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดง ชุด ลายสือไทย กระบวนการผลิตผลงานสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ใช้แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยตามแนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ ของครูจาเรียง พุธประดับ ซึ่งมีกระบวนการสร้างสรรค์ตามลาดับ ดังนี้ 1. กาหนดความคิด 2. ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างสรรค์งาน 3. กาหนดขอบเขต 4. กาหนดให้อยู่ในรูปแบบจารีตประเพณี 5. กาหนดองค์ประกอบ 6. กระบวนการออกแบบท่ารา มีรายละเอียดดังนี้ 1. กาหนดความคิด ผลงานการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยชุดนี้ สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะลายเส้นของลายสือไทย คุณค่า ความสาคัญ และความภาคภูมิใจของคนไทยที่มีตัวอักษรเป็นของตนเอง เป็นการแสดงออกถึงความมีอารยะธรรมของชาติ 2. ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างสรรค์งาน การสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาความสาคัญ และลักษณะของลายสือไทย ที่ปรากฏอยู่บนศิลาจารึกหลักที่ 1 เพื่อนามาเป็นกรอบคิดในการสร้างเนื้อหาการแสดง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ลายสือไทยในสมัยพ่อขุนรามคาแหง พบว่ามีพยัญชนะเกิดขึ้นทั้งหมด 39 ตัว ได้แก่ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ญ ฎ ฏ ฐ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และ อ มีรูปสระ 20 ตัว ได้แก่ สระอะ สระอา สระอิ สระอี สระอือ สระอุ สระอู สระเอ สระแอะ สระแอ สระโอ สระออ สระอัว สระเอีย สระเอือ สระเออ สระอา สระใอ สระไอ และสระเอา มีวรรณยุกต์ 2 ตัว ได้แก่ วรรณยุกต์เอกและวรรณยุกต์โท

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3